วันที่ปรับปรุงข้อมูล 1 มี.ค. 2567
การทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ ไม่ได้ เพราะหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ อาทิ ลายนิ้วมือ และรูปถ่ายใบหน้า ผู้ร้องจึงต้องมายื่นด้วยตนเองเท่านั้น
ตอบ คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลานาน เจ้าบ้านอาจแจ้งย้ายบุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้านของตนเอง แต่ไม่มีตัวตนออกจากทะเบียนบ้าน หรือ เจ้าบ้านซื้อบ้านต่อจากผู้อื่นแล้วย้ายชื่อที่ค้างออกจากทะเบียนบ้าน ทำให้บุคคลที่ถูกย้ายออกจากทะเบียนบ้านต้องไปอยู่ในทะเบียนบ้านกลาง ส่งผลให้ไม่สามารถทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้ ขอให้ติดต่อสำนักทะเบียนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลางไปเข้าทะเบียน โดยดำเนินการด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
ตอบ ไม่ได้ หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีอายุใช้งาน 5 ปี และ 10 ปี เมื่อหมดอายุแล้วไม่สามารถต่ออายุได้อีก จะต้องทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่
คำถามเกี่ยวกับวีซ่า
ตอบ ใช่ มีหลายประเทศที่รัฐบาลไทยได้ทำความตกลงเพื่อให้สามารถเดินทางไปมากันสะดวกขึ้น สามารถหารายชื่อประเทศที่คนไทยได้รับการยกเว้นตรวจลงตราได้จากเว็บไซต์กรมการกงสุล www.consular.go.th
ตอบ ก่อนอื่น ต้องจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถเลือกจดตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างชาติ นำหลักฐานการจดทะเบียนสมรสไปยื่นขอวีซ่าประเภทคู่สมรส (Non-immigrant “O”) ที่สถานเอกอัครราชทูต คู่สมรสจะสามารถอยู่ในเมืองไทยได้ระยะยาว ครั้งแรกไม่เกิน 90 วัน หลังจากนั้น สามารถขออนุญาตอยู่ต่อที่สำนักงาน ต.ม. ทุกแห่ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี
ตอบ ใช่ โดย ต.ม. จะพิจารณาตามเอกสารและความจำเป็น บางกรณีอาจต้องเดินทางกลับประเทศของตนเพื่อขอวีซ่าที่ถูกต้องและค่อยเดินทางกลับเข้ามาใหม่
การรับรองเอกสาร
ตอบ ตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2539 สถานเอกอัครราชทูตฯ มีอำนาจการรับรอง 3 ประเภท คือ
การรับรองคำแปล การรับรองสำเนาถูกต้อง (เฉพาะเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการไทย) และการรับรองลายมือชื่อ (บุคคลสัญชาติไทย)
ตอบ การรับรองลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจและยินยอม ผู้ร้องจำเป็นต้องลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่เท่านั้น
ตอบ ถ้าไม่มีการระบุระยะเวลาไว้อย่างชัดแจ้ง หนังสือมอบอำนาจก็ไม่มีกำหนดระยะเวลา
การคุ้มครองและช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ
ตอบ การขอความช่วยเหลือสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ ติดต่อให้ญาติ พี่น้อง ในประเทศไทยไปติดต่อกองคุ้มครองฯ กรมการกงสุล (หมายเลขโทรศัพท์ 02 2575 1047 – 51) โดยควรไปติดต่อด้วยตนเองเพื่อจะสามารถให้ข้อมูลและหลักฐานประกอบได้อย่างสมบูรณ์ หรือผู้ตกทุกข์ได้ยากสามารถติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อขอความช่วยเหลือได้โดยตรง ควรเตรียมหลักฐานให้ครบถ้วน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางของผู้ตกทุกข์ได้ยาก
ตอบ เป็นหลักปฏิบัติสากล ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศจะต้องรับผิดชอบตัวเองเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ดี กรณีไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมทั้งญาติ พี่น้อง ในประเทศไทยมีฐานะยากจน ไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้ รัฐบาลมีแนวปฏิบัติที่จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไปก่อน โดยญาติพี่น้อง หรือตัวผู้ตกทุกข์ได้ยากจะต้องทำหนังสือสัญญารับรองการชดใช้เงินคืนไว้กับทางราชการ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องทางแพ่ง เช่น การจ้างทนายความ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินคดี
ตอบ ไม่ได้ การสำรองจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือคนไทยจะต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง กรณีต้องโทษในทางอาญา ได้ระบุการสำรองจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือคนไทยไว้ 2 ประการ คือ ค่าของเยี่ยมและค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ซึ่งตามระเบียบมิได้กำหนดให้มีการสำรองจ่ายเงินเพื่อใช้ในการประกันตัว
ปัญหาเกี่ยวกับสัญชาติ
ตอบ นำใบทะเบียนสมรสต้นฉบับที่ออกโดยหน่วยงานท้องถิ่นของประเทศนั้นไปให้กระทรวงการต่างประเทศของประเทศนั้น รับรองลายมือชื่อผู้ลงนามในใบทะเบียนสมรส และนำใบทะเบียนสมรสดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาไทย ก่อนส่งมาให้สถานเอกอัครราชทูตฯ รับรอง หลังจากนั้น ต้องนำเอกสารสารทั้งหมดที่ผ่านการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ไปให้กองสัญชาติฯ กรมการกงสุล ที่กรุงเทพฯ รับรองอีกที ก่อนนำไปยื่นขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านที่ประเทศไทย
ตอบ ไม่ต้องจดทะเบียนสมรสไทยอีก เพราะจะเป็นการจดทะเบียนสมรสซ้ำ
Mon-Fri (Except public holidays)
สำหรับคนไทยขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
(670) 7798 5946 / 7812 5258 [only for Thai national in emergency case]